ใช้หนังสือให้เป็น…ลูกเก่งและฉลาด ช่วงที่ 2

ข้อเสนอแนะนี้อาจเป็นข้อเสนอสำหรับการใช้หนังสือที่เราไม่คุ้นเคย แต่จากประสบการณ์การอ่านหนังสือของผม และผลลัพธ์ที่ได้รับจากการแนะนำลูก ๆ รวมทั้งลูกศิษย์ของผมให้เรียนรู้ในการอ่านหนังสือ พอที่จะทำให้ผมสรุปได้ว่า วิธีการอ่านที่ช่วยทำให้ผู้อ่านฉลาดขึ้นได้ ต้องอ่านแบบเป็น “ผู้เรียนรู้” ไม่ใช่ “ผู้รับรู้”

การเรียนรู้เป็นหนทางสำคัญในการพัฒนาสติปัญญา การเรียนรู้นั้นเป็นพฤติกรรมเชิงรุก (active pursuit) ไม่ใช่พฤติกรรมเชิงรับ (passive pursuit) ในการอ่านต้องอ่านแบบเรียนรู้ ไม่เพียงอ่านเพื่อรับรู้ว่าผู้อ่านพูดอะไร แล้วก็จำไว้ตามนั้น ซึ่งไม่ต่างอะไรกับนกแก้วนกขุนทองที่จำสิ่งที่คนสอนมาพูดตามนั้นได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน แต่การอ่านเพื่อเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องอ่านและคิดตามด้วย

อ่านแบบเรียนรู้ ….เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าผู้เขียนสื่อสารอะไร เราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร เรามีความคิดเห็นอะไรเพิ่มเติมหรือคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นบ้างหรือไม่ ไม่เพียงเท่านั้น ทุกอย่างที่สามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งที่เราอ่านไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม อาทิ คำศัพท์ สำนวนใหม่ ๆ รูปแบบการเขียน หรืออะไรก็ตามที่เราได้รับจากการอ่าน

kriengsak chareonwongsa kid

การเรียนรู้จากการอ่านเช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราอ่าน คิด และ “ขีดเขียน” ลงไปในหนังสือ

จากหนังสือ แม่และเด็ก
ใช้หนังสือให้เป็น…ลูกเก่งและฉลาด ช่วงที่ 1
ใช้หนังสือให้เป็น…ลูกเก่งและฉลาด ช่วงที่ 2
ใช้หนังสือให้เป็น…ลูกเก่งและฉลาด ช่วงที่ 3
คำแนะนำภาคปฏิบัติ เพื่อลูกอ่านหนังสืออย่างนักเรียนรู้

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ใส่ความเห็น